วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Evolution III

Evolution III
รุ่นยอดนิยม ขวัญใจมหาชน


27 มกราคม 1995
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
การปรับปรุงเน้นไปที่การเปลี่ยนมาใช้ชุดแอโรพาร์ท รวมทั้งสปอยเลอร์รอบคันใหม่ทั้งหมดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มแรงกดและลด ค่าสัมประสิทธิ์ต้านทานอากาศ (แอโรไดนามิก) ลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มเป็น 1,260 กิโลกรัม ยังใช้ตัวถัวรวมทั้งช่วงล่างและระบบกำลังส่งเดิม แรงม้าอยู่ที่ 270 แรงม้า (PS) ที่ 6,250 รอบ / นาที โดยคงแรงบิดสูงสุดเท่าอีโวลูชั่น II ระบบกันสะเทือนถูกปรับปรุงให้ตอบสนองได้เฉียบคมยิ่งขึ้น จนทำให้อีโวลูชั่น III แรงสุดและหนักสุด แต่มีสมรรถนะดีที่สุดในกลุ่มอีโวลูชั่นที่ใช้พื้นฐานแลนเซอร์รุ่นอี – คาร์

รุ่นยอดนิยม ขวัญใจมหาชน รุ่นนี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากอีโวลูชั่น ทู
ภายนอกเปลี่ยนกันชนหน้าใหม่ มีช่องรับลมใหญ่ขึ้น สเกิร์ตข้างใหญ่ขึ้น มีติ่งหลังปลายกันชน และหางหลังรูปทรงใหม่ และไฟมุมสีส้ม
รุ่นนี้ที่พิเศษกว่า อีโว วัน- ทู คือ กระจกเป็นสีฟ้าครับ เป็นแบบ UV cut ด้วย
พื้นฐานยังคงเหมือนรุ่นก่อนๆ
แต่มีการปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น อีก 10 แรงม้า เป็น 270 แรงม้า
ภายในเหมือน อีโวลูชั่นทู
เบาะ Recaro SR-III เปลี่ยนลายใหม่
พวงมาลัย MOMOใหม่ (รุ่นนี้หายาก)
สีเหลืองเป็นสีที่มีเฉพาะรุ่นนี้เท่านั้น
สำหรับรุ่น RS ก็เหมือนเดิม ลดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกหมด
แล้วเพิ่มไอ้ที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันขึ้นมาแทน


Evolution II

Evolution II

22 ธันวาคม 1993
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
ดูเหมือนไม่มีการปรับโฉมใหม่ใด ๆ แต่ความจริงแล้วมีหลายจุดที่ อีโวลูชั่น II แตกต่างจาก อีโวลูชั่น I เช่นเครื่องยนต์ที่มีการเพิ่มแรงดันบูสเตอร์เทอร์โบ ระยะวาล์ว เป็นต้น รีดแรงม้าเป็น 260 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 31.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที ปรับปรุงระบบกันสะเทือนเพียงเล็กน้อย
รุ่นนี้ หน้าตาเหมือนกะรุ่น อีโวลูชั่น วัน มีจุดแตกต่างกันนิดหน่อย
- กันชนหน้ามีลิ้นหน้าเพิ่มขึ้น
- สปอยเลอร์หลังแบบ 2 ชั้น
- ล้อแม็กซ์ ขอบ 15 เท่าเดิม แต่เป็นล้อ O.Z.
รุ่นนี้ได้รับการพัฒนาด้านเครื่องยนต์อีกเล็กน้อยจน มีแรงม้าเพิ่มอีก 10 ตัว เป็น 260 แรงม้า
นอกนั้นยังคงสเป็กเดิมภายใน ยังคงเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเบาะหน้าเป็นรุ่น SR-III ลายตุ๊กแก
แผงข้างประตูเป็นหนังกลับ สีที่ผลิตในรุ่นนี้ มี 5 สีครับ

Evolution I

Evolution I

7 กันยายน 1992
จำกัดจำนวนผลิต 2,500 คัน
ถูกพัฒนาบนพื้นฐานแลนเซอร์รุ่น อี-คาร์ มีให้เลือกทั้งรุ่น RS สำหรับลูกค้าที่ต้องการรถสภาพเดิมไปโมดิฟายเพื่อลงแข่งในสนามและรุ่น GSR สำหรับลูกค้าทั่วไป ด้วยความยาวตัวถัง 4,310 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,395 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,500 มิลลิเมตร น้ำหนักตัว 1,240 กิโลกรัม ขุมพลัง 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมเทอร์โบและอินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 250 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 31.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ลงสู่ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ คู่หน้าแบบมีรูระบายความร้อน


รูปลักษณ์ ภายนอก ค่อนข้างเหมือนกะอีคาร์
กันชนหน้ามีช่องลมระบายอากาศขนาดใหญ่ พร้อมฝากระโปรงอลูมิเนียม
แก้มซ้ายขวาโป่งกว่ารุ่นอีคาร์ มีไฟข้างแก้มแบบแบน
รุ่นนี้ใช้เครื่องยนต์ 4G63 ที่พัฒนามาจาก VR-4
โดยมีแรงม้า 250 Ps มากกว่ารุ่น VR-4(ECI) อยู่ 10 แรงม้า
อินเตอร์คูลเลอร์ใหญ่กว่า VR-4 มีแต่เกียร์ 5 สปีด ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ดิสค์เบรค 4 ล้อ พร้อม ABS ดุมล้อ 4 รู 114
รุ่นนี้ใส่แม็กขอบ 15 ให้มาจากโรงงาน
ตั้งแต่รุ่นนี้ไป ไฟตัดหมอกหลังเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ภายใน สีดำล้วน
แอร์ดิจิตอล พวงมาลัยโมโม่ เบาะเรคคาโร่หัวหมอนหนังกลับ
กระจกสีชาไฟฟ้า 4 บาน กระจกมองข้างปรับไฟฟ้าแบบพับได้
มีไล่ฝ้ากระจกหลังพร้อมใบปัด
ซันรูฟเป็นออฟชั่นสั่งพิเศษครับ ในรุ่นนี้ผลิตออกมาเพียง 5 สีเท่านั้น
ของเล่นที่หายากในบ้านเรา เป็นออฟชั่นที่ต้องจ่ายเพิ่ม ก็มีดังนี้เลยครับ
- สปอร์ตไลท์หน้า (มาพร้อมสวิสต์ในรถ ปุ่มกดอยู่บริเวญเหนือช่องแอร์ด้านขวา)
- มัดการ์ด (คนไทยไม่ค่อยนิยมใส่)
- เบาะเรคคาโร่หัวตาข่าย (ใครจะเปลี่ยนวะ)
- เกจ์วัดสามสหาย
- กันกระแทกเข่า(เวลาเข้าโค้งแรงๆ จะได้ใช้)
- ค้ำโช๊คหน้า RalliArt
ในประตูทั้ง 4 บาน จะมีคานกันกระแทกขนาดใหญ่
สปอยเลอร์หลังแบบชั้นเดียว(รุ่นนี้ดีนะ ต้านลมน้อยที่สุดเลย)
ส่วนในรุ่น RS จะตัดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับการแข่งขันออกทั้งหมดเลย
และเพิ่มลิมิเต็ดสลิปหน้า-หลังให้อีกด้วย

Concept X หรือ EVOLUTION X


Concept X หรือ EVOLUTION X

   

 
มิตซูบิชิเปิดเผยว่าต้นแบบรุ่นนี้ใช้ชื่อว่า คอนเซ็ปต์-เอ็กซ์ ที่เตรียมมาเพื่อเปิดตลาดในนามของ อีโวลูชั่น 10มากับตัวถัง 4 ประตูสุดสวย ได้รับการออกแบบโดยเน้นความสปอร์ตในทุกรายละเอียด โดยผสานกับความโค้งมนกลมกลืนของตัวถัง อีกทั้งยังได้รับการลดน้ำหนักแบบสุดๆ กับการนำอะลูมิเนียมมาใช้ผลิตฝากระโปรง, พื้นตัวถังของห้องเก็บสัมภาระ, หลังคา, กันชน และแผงประตูทั้ง 4 บาน
ระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบแม็กเฟอร์สันสตรัต และด้านหลังเป็นแบบมัลติลิงก์ พร้อมเทคโนโลยีใหม่ของมิตซูบิชิที่เรียกว่า Roll Control Suspension ที่ช่วยควบคุมไม่ให้ตัวรถมีอาการโคลงไปมาในขณะขับหรือเข้าโค้ง
ตัวถังซีดาน 4 ประตูของต้นแบบรุ่นนี้มีความยาว 4,530 มิลลิเมตร กว้าง 1,830 มิลลิเมตร สูง 1,470 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,650 มิลลิเมตร เสริมความสปอร์ตด้วยล้อแม็กวงโตขนาด 9X20 นิ้ว และยางขนาด 225/35R20
เครื่องยนต์เป็นบล็อก 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 2,000 ซีซี พร้อมระบบวาล์วแปรผัน MIVEC อัดอากาศเพิ่มความแรงด้วยเทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ ซึ่งทางมิตซูบิชิยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดออกมา แต่คาดว่าน่าจะเป็นบล็อกเดียวกับที่วางอยู่ในอีโวลูชัน 9 ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี 2005
ส่วนระบบส่งกำลังมาในมาดใหม่กับระบบเกียร์แบบซีเควนเชียล 6 จังหวะที่ไม่ต้องเหยียบแป้นคลัตช์ให้เมื่อยขาซ้าย โดยใช้พื้นฐานของเกียร์ธรรมดา แต่ใช้ระบบคลัตช์ไฟฟ้า เปลี่ยนเกียร์ผ่านทางแป้น + หรือ – ที่ติดตั้งอยู่บนพวงมาลัย คล้ายกับพวกเกียร์เซเลสปีดของอัลฟา
ขณะที่ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเป็นเทคโนโลยีใหม่เช่นกันเรียกว่า S-AWC หรือ Super All Wheel Control ที่ใช้พื้นฐานเดียวกับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อในอีโวลูชันรุ่นล่าสุด แต่มีการปรับปรุงให้ทำงานดีขึ้น และเสริมการทำงานร่วมกับระบบ ABC หรือ Active Brake Control และระบบ Steering System เพื่อความแม่นยำในขณะเข้าโค้งและความปลอดภัยในขณะขับขี่
ทั้งหมดคือตำนานกว่า 13 ปี ที่ อีโวลูชั่นครองตำแหน่งหัวแถวในสนามแข่ง บนท้องถนน และในความทรงจำจองผู้ที่ชื่นชอบความแรงจากพละกำลังของสปอร์ตซีดานขับเคลื่อน 4 ล้อรุ่นพิเศษที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะ อีโวลูชั่น IX ที่ยังรอคอยผู้ขับขี่ที่มีความเร็วและแรงอยู่ในหัวใจได้ครอบครองเป็นเจ้าของ



Evolution Wagon

Evolution Wagon




Specifications
Engine
Type: Inline-4, Turbocharged
Displacement cc: 1997
Power bhp at RPM: 280 / 6500
Torque Nm at RPM: 398 / 3000
Redline at RPM: 7000
Transmission : 6-speed MT / 5-speed AT
Brakes & Tires
Brakes F/R: ABS, vented disc/vented disc
Tires F-R: 235/45 R17
Driveline: All Wheel Drive
Exterior Dimensions & Weight
Length × Width × Height in: n.a.
Weight lb (kg): n.a.
Performance
Acceleration 0-62 mph s: n.a.
Top Speed mph (km/h): n.a.
Fuel Economy EPA city/highway mpg (l/100 km): n.a.
Mits

EVOLUTION IX

EVOLUTION IX
 


 
อีโวลูชั่น 9 แบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ จีแอลเอส, อาร์เอส และรุ่นท็อปไลน์ เอ็มอาร์ (มิตซูบิชิ เรซซิ่ง)
ลูกค้าสามารถเลือกการตกแต่งได้หลากหลายรูปแบบตามแต่รสนิยมความต้องการ
รวมถึงการตกแต่งให้ใกล้เคียงกับตัวแข่งแรลลี่โลก WRC ให้มากที่สุดก็สามารถทำได้
อีโวลูชั่น 9 ใช้เครื่องยนต์ บล็อก 4 สูบเรียง 16 วาล์ว พ่วงเทอร์โบ-อินเตอร์คูลเลอร์เวอร์ชั่นล่าสุด
โดยทำงานพร้อมกับระบบ Mivec ยกวาล์วผันแปรตามรอบเครื่องยนต์ ช่วยรีดพละกำลังได้สูงสุด 280 แรงม้า
ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 390 นิวตัน-เมตร มาที่รอบต่ำเพียง 3,500 รอบ/นาที
ระบบส่งกำลังใช้แบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นจีแอลเอสและอาร์เอส
ซึ่งได้รับการปรับปรุงอัตราทดให้ถ่ายเทแรงบิดได้ไหลลื่นยิ่งขึ้น
ขณะที่อัตราทดในเกียร์สูงสุดก็ได้รับการพัฒนาเพื่อการใช้ความเร็วสูง
ในส่วนของรุ่นเอ็มอาร์ ใช้ระบบเกียร์ธรรมดาแบบ 6 สปีด ในส่วนของช่วงล่างได้รับการปรับแต่งให้แน่นปึ๊กสไตล์แรลลี่ช็อกอัพใช้ของบิล สไตน์
ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ ออลวีลไดรฟ์ ตะกุยสี่ล้อตลอดเวลา
ซึ่งจะมาพร้อมกับระบบควบคุมแรงบิด ACD ปรับเปลี่ยนได้ 3 โหมด
สำหรับสภาพถนนแบบ ฝุ่นกรวด, ลาดยาง และพื้นหิมะ
ขณะที่ระบบเบรกใช้ของเบรมโบคอยคุมฝูงม้าไม่ให้พยศเกินความจำเป็น
รูปโฉมภายนอกดีไซน์ใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ สร้างแรงกดตามหลักแอโรไดนามิกส์
และเพื่อระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของล้ออัลลอย ถือว่า
เป็นหนึ่งในไฮไลต์ของอีโวลูชั่น แทบทุกรุ่น
สำหรับ "อีโว 9" ใช้ล้อของเอนไก อะลูมิเนียมอัลลอยน้ำหนักเบา
ขนาด 17 นิ้วหุ้มด้วยยางขนาด 235/45 R17 ของโยโกฮาม่า แอดวาน เกาะถนนเหนียวแน่นหนึบ
การตกแต่งภายใน ทางมิตซูบิชิเน้นให้ถอดแบบมาจากตัวแข่งแรลลี่ให้มากที่สุด
เบาะที่นั่งบั๊กเก็ตซีทของสปาร์โก หุ้มด้วยอัลคันทาร่าและหนังแท้ โอบกระชับและนั่งสบาย
พวงมาลัยสามก้านทรงซิ่งสีไทเทเนี่ยมของโมโม แป้นเหยียบอะลูมิเนียมกันลื่น
ส่วนแผงข้างประตู และคอนโซลใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์

Evolution VIII MR

Evolution VIII MR



Specifications
Engine
Type: Inline-4, Turbocharged
Displacement cu in (cc): 122 (1997)
Power bhp at RPM: 280 / 6500
Torque Nm at RPM: 400 / 3500
Redline at RPM: 7000
Brakes & Tires
Brakes F/R: ABS, vented disc/vented disc
Tires F-R: 235/45 ZR17
Driveline: All Wheel Drive
Exterior Dimensions & Weight
Length × Width × Height in: 178.5 × 69.7 × 57.1
Weight lb (kg): n.a.
Performance
Acceleration 0-62 mph s: 5.1
Top Speed mph (km/h): 157 (253)
Fuel Economy EPA city/highway mpg (l/100 km): 18/26 (n.a.)
จุดเด่นของรุ่นนี้คือ
- หลังคาอลูมิเนียม
- ช่วงล่าง บิลสไตน์
- ล้อ BBS (8ธรรมดา เป็น เอ็นไก)
- มีครีบหลัง
จุดเด่นอื่นๆ
- ภายในสีดำ ดุดันทั้งคัน
- สัญลักษณ์MR บริเวณคอนโซลเกียร์
- โคมไฟหน้า-หลัง พ่นสีดำด้าน

Evolution VIII

Evolution VIII



28 มกราคม 2003
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
เป็นครั้งแรกที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส เริ่มส่งออกสายพันธ์ความแรงอีโวลูชั่นไปวาดลวดลายยังท้องถนนในดินแดนลุงแซม (สหรัฐอเมริกา) จุดประสงค์หลักของการปรับปรุงอีโวลูชั่น VIII พุ่งเป้าไปที่การยกระดับสมรรถนะที่ดีอยู่แล้วในอีโวลูชั่น VII ให้ดียิ่งขึ้น เริ่มจากขุมพลังรหัส 4G63 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์และเทอร์โบถูกปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เพิ่มความทนทานของลูกสูบอะลูมิเนียม และก้านสูบแบบเหล็กหล่อ รวมทั้งเปลี่ยนใช้สปริงวาล์วน้ำหนักเบา เพื่อช่วยลดแรงเฉื่อยและแรงเสียดทานในการทำงานของชุดวาล์ว
เวอร์ชั่นญี่ปุ่นยังคงแรงอยู่ที่ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที เพิ่มแรงบิดให้สูงขึ้น 40.0 กก. – ม. ที่ 3,500 รอบ / นาที โดยรุ่น GSR จะส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ อัตราทดชิด (Close Ration ) รุ่น W6MAA พร้อมแหวนยกแป้นใต้หัวเกียร์ป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลังผิดผลาดเหมือนรถ ยุโรปบางรุ่น แต่รุ่น RS ยังคงติดตั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ อัตราทดชิด Super Close Ration รุ่น W5M51 โดยมีเกียร์ 6 จังหวะจากรุ่น GSR ให้เลือกเป็นออฟชั่นพิเศษ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระดับ 9.7 กิโลเมตร / ลิตร โดยรุ่น RS ใช้ถังน้ำมันขนาด 55 ลิตร แต่ในรุ่น GSR เปลี่ยนขนาถังให้ใหญ่ขึ้นอีก 7 ลิตร เป็น 62 ลิตร ส่วนเวอร์ชั่นอเมริกันจำเป็นต้องลดพิกัดความแรงลงมาเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน มลพิษระดับ LEV1 - LEV ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ลงมาเหลือ 275 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 37.7 กก.-ม. ที่ 3,500 รอบ / นาที พ่วงกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ
ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนจะถูกพ่วงเข้ากับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อพร้อมระบบเพลากลาง ACD (Active Center Differential) ทำหน้าที่แทน Viscous Coupling โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิก ร่วมกับคลัตซ์หลายแผ่น เพื่อกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปสู่ล้อคู่หน้าและหลังเท่าๆ กัน อีกทั้งผู้ขับขี่ยังเลือกการทำงานได้ 3 โหมดตามสภาพถนนคือ Tarmac / Gravel / Snow
นอกจากนี้เฉพาะรุ่น GSR ยังเพิ่มระบบชุดเฟือง Super AYC (Active Yaw Control ) ติดตั้งใกล้เฟืองท้ายทำงานประสานกับระบบ ACD เพื่อเข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน
ระบบกันสะเทือนยกมาจากรุ่นเดิม หน้าแมคเฟอร์สันสตรัทหลังแบบมัลติลิงก์ พร้อมเหล็กกันโคลงหน้า – หลัง ถูกปรับปรุงจุดยึดต่างๆ เพื่อให้ช่วยลดการบิดตัว ส่งผลให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น ระบบห้ามล้อเป็นดิสก์เบรกมีรูระบายอากาศทั้ง 4 ล้อ คู่หน้าเป็นแบบ 4 คาลิปเปอร์ส่วนคู่หลังมี 2 คาลิปเปอร์ ระบบป้องกันล้อล็อก ABS ถูกอัพเกรดขึ้นเป็นแบบ Sport ABS มีเซนเซอร์จับอาการล็อกล้อทั้ง 4 เพิ่มเซนเซอร์จับการหมุนของพวงมาลัยและหมุนเลี้ยวของล้อทั้ง เพื่อคำนวณหาแรงเบรกที่เหมาะสมของแต่ละล้อและสั่งการไปยังล้อข้างนั้น ๆ ส่วนระบบกระจายแรงเบรก EBD พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PVC (Pressure Control valve )
โครงสร้างตัวถังมีความยาว 4,490 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,625 มิลลิเมตร กระจังหน้าทรงปิรามิดลายเอกลักษณ์ใหม่ของมิตซูบิชิกลืนเป็นช้อนเดียวกับ กันชนหน้า เสริมการทำงานด้วยแผ่นปิดใต้ท้องเครื่องยนต์ช่วยให้การระบายอากาศเข้าสู่ อินเตอร์คูลเลอร์ดีขึ้นกกว่าเดิม 10% และเพิ่มแรงกดให้กดให้กระแสลมบริเวณด้านหน้าทำให้อากาศไหลผ่านอย่างไหลลื่น ทั้งยังลดค่าสัมประสิทธิ์หลักอากาศพลศาสตร์ได้อีกด้วยสปอยเลอร์หลังหล่อขึ้น รูปจากพลาสติกผสมคาร์บอนไฟเบอร์ CFRP (Carbon Fiber - reinforced Plastic ) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของรถยนต์ซีดานจากสายการผลิตบริษัทแม่โดยตรง
ห้องโดยสารตกแต่งด้วยโทนสีดำเป็นหลัก แผงหน้าปัดตกแต่งคอนโซลด้วยสีน้ำเงินชุดมาตรวัดความเร็วจะเพิ่มตัวเลขให้ เกินพิกัดความเร็วสูงสุดถึง 270 กิโลเมตร / ชั่วโมง แต่ยังจะมีระบบตัดการจ่ายเชื้อเพลิงเมื่อถึงความเร็ว 180 กิโลเมตร / ชั่วโมง ตามกฎหมายของญี่ปุ่นไว้เช่นเดิม

เครื่องยนต์สเป็กด้อยกว่านิดนึง แค่ 276 แรงม้า
Specifications
Engine
Type: Inline-4, Turbocharged
Displacement cu in (cc): 122 (1997)
Power bhp (kW) at RPM: 276(206) / 6500
Torque lb-ft (Nm) at RPM: 286(388) / 3500
Redline at RPM: 7000
Brakes & Tires
Brakes F/R: ABS, vented disc/vented disc
Tires F-R: 235/45 ZR17
Driveline: All Wheel Drive
Exterior Dimensions & Weight
Length × Width × Height in: 178.5 × 69.7 × 57.1
Weight lb (kg): 3263 (1480)
Performance
Acceleration 0-62 mph s: 5.1
Top Speed mph (km/h): 157 (253)
Fuel Economy EPA city/highway mpg (l/100 km): 18/26 (n.a.)

EVOLTION VII GT – A

EVOLTION VII GT – A

 


เป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติรุ่นแรกในตระกูลอีโวลูชั่นนำเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ
INVECS – II พร้อมโหมดบวก – ลบมาติดตั้ง
ส่งผลให้กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์บล็อกเดิมลดลงเหลือ 272 แรงม้า (PS)
ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดเหลือ 35 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที
อีกทั้งยังมีรายละเอียดการตกแต่งภายในและภายนอกต่างจากอีโวลูชั่น VII เล็กน้อย

แรงแบบออโต้ครับ สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส
สายพันธ์เดียวกับตัวแข่ง
เครื่องยนต์รหัส 4G63 ตัวเดียวกะตัวแข่ง แต่สะดวกสบายกว่าด้วยเกียร์ออโต้ INVECT II
GT-A ฝากระโปรงเรียบไม่มีช่องระบายความร้อน
กันชนไม่มีช่องลมตรงกลาง ป้ายทะเบียนอยู่ตรงกลาง โคมไฟหน้า-หลังขาวทั้งหมด
ล้อลายเดียวกะอีโว7 แต่ปัดเงาทั้งวง สปอยเลอร์หลังทรงเตี้ยเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
เครื่องยนต์เดียวกับอีโว7 แต่โดนตอนแรงม้าลงเหลือ 272 ตัวที่ 6500 รอบ
โดยมีแรงบิดที่ 35.0กก.ที่ 3000 รอบ ออฟชั่นต่างๆ เทียบเท่าอีโว7 บวกเกียร์ออโต้ 5 สปีด
แก้มหน้า ฝากระโปรง เป็นอลูมิเนียมน้ำหนักเบา ประตูมีคานเหล็กนิรภัยทั้ง 4 บาน
ตามจุดต่างๆ มีการสปอตตัวถังไว้อย่างดี เรือนไมล์ขาวพร้อมไฟบอกเกียร์
สปอยเลอร์หลังทรงสูงต้องเพิ่มเงิน สปอยเลอร์หลังทรงเตี้ยได้มาจากโรงงาน
ไม่เอาสปอยเลอร์ต้องจ่ายเพิ่มด้วยนะ (ในญี่ปุ่น) รุ่นนี้มีสีให้เลือก 6 สี

Evolution VII

Evolution VII


 
26 มกราคม 2001
จำกัดจำนวนผลิต 10,000 คัน
เป็นครั้งที่ 2 ที่เปลี่ยนตัวถังใหม่โดยใช้พื้นฐานของแลนเซอร์ซีเดีย
มีขนาดตัวถังยาวขึ้นเป็น 4,455 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร
ระยะฐานล้อยาว 2,625 มิลลิเมตร ปรับปรุงให้แตกต่างจากรุ่นมาตรฐานหลายจุด
เช่น ฝากระโปรงหน้าอะลูมิเนียมพร้อมช่องดังอากาศ
การตกแต่งภายในยังคงบุคลิกสปอร์ตไว้เต็มพิกัด
เครื่องยนต์ 4G63 ถูกปรับปรุงท่อทางเดินไอเสีย
เพื่อให้อากาศหลังการเผาไหม้ระบายออกสู่ปลายท่อดีขึ้น
เพิ่มความกว้างให้กับอินเตอร์คูลเลอร์รีดกำลังสูงสุดออกมาได้
ที่ 280 (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 39.0 กก.- ม. 3,500 รอบ / นาที
และยังคงส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ รุ่น W5M51
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ACD (Active Center Differential)
เป็นครั้งแรกในโลก แทนระบบ Viscous Coupling
โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิกร่วมกับคลัตช์หลายแผ่นมั่นใจด้วยดิสก์เบรก 4 ล้อ 4 คาลิปเปอร์
พร้อม ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD
(Electronic Controlled Brake Force Distribution System)
พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PVC ( Presure Control Valve)

EVOLUTION VI TOMMY MAKINEN LIMTED

EVOLUTION VI TOMMY MAKINEN LIMTED


 
10 ธันวาคม 1999
จำกัดจำนวนผลิต 2,500 คัน
มิตซูซูบิชิสร้างอีโวลูชั่น VI เวอร์ชั่นพิเศษเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ทอมมี่ มาคิเนน
อดีตนักแข่งทีมมิตซูบิชิ แรลลี่อาร์ต ซึ่งแตกต่างจากอีโวลูชั่น VI เล็กน้อย
ยึดการตกแต่งด้วยโทนสีแดง ออกแบบชุดแอโรพาร์ทใหม่ทั้งหมด
ลดความสูงของตัวถังจรดพื้นถนนจากรุ่นเดิมลงไปอีก 10 มิลลิเมตร
ถังน้ำมันพร้อมฝาปิดแบบใหม่ป้องกันการกระฉอกขณะเข้าโค้งต่างระดับด้วยความเร็วสูง
ขุมพลังมีแรงม้าเท่าเดิม แต่ลดลงมาอยู่ที่ 38.0 กม.-ม.ที่ 2,750 รอบ / นาที

สีพิเศษคือสีแดง
มีการเปลี่ยนกันชนหน้าให้ดูสปอร์ตมากขึ้น พร้อมคาดลายจากโรงงาน
ภายในเน้นโทนสีแดงครับ
ตั้งแต่เบาะ ลายสีแดงน่านั่งมากๆ พร้อมปักชื่อรุ่น ไว้อย่างโก้หรู
พวงมาลัยด้ายแดง เรือนไมล์จอดำ ตัวเลขแดง
ล้อแม็กซ์ขอบ 17 ของ Enkai สีขาว ครับ นอกนั้นก็คล้ายกะรุ่นอีโว 6 นะคับ แต่ดีกว่ารุ่นก่อนนิดนึง

EVOLUTION VI


EVOLUTION VI
 

 

7 มกราคม 1999
จำกัดจำนวนผลิต 7,000 คัน
เน้นปรับปรุงชุดแอร์โรพาร์ท และระบบหล่อเย็นให้ตรงข้อกำหนดใหม่ของ FIAและปรับปรุงสปอยเลอร์หลังโดยใช้พื้นฐานรูปทรงเดิมแต่ฐานล่างทรงสามเหลี่ยมนูนเจาะ โล่ง
เพื่อประสิทธิภาพในการกดตัวถังขณะแล่นด้วยความเร็วสูง ปรับปรุงระบบกันสะเทือนให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น
ปรับปรุงการทำงานของระบบ AYC ให้แม่นยำยิ่งขึ้นระบบอัดอากาศเทอร์โบเปลี่ยนแกนเทอร์ไบน์มาใช้ไททาเนี่ย มเป็นครั้งแรกในโลก

รุ่นนี้ภายนอกมีเปลี่ยน กันชนหน้าใหม่
ย้ายป้ายทะเบียนไว้ด้านข้าง
ซึ่งกลายเป็นตำนานการย้ายป้ายจนถึงทุกวันนี้
ล้อแม็กซ์ O.Z. ลายใหม่ ขอบ 17
สปอยเลอร์หลัง 2 ชั้นแบบลอยตัว
เทอร์โบพัฒนาไปอีกขั้น แกนไททาเนียม
ปีกนกหลัง ในรุ่นอีโวลูชั่นซิกส์ เป็นอลูมิเนียมทั้งหมด
ร่นนี้ผลิตมา 5 สีคับ
ขาว ดำ บรอนซื น้ำเงินลูไซท์ ฟ้าเข้มอีโว

EVOLUTION V

EVOLUTION V



 
มกราคม 1998
จำกัดจำนวนผลิต 6,000 คันปรับโฉมให้เหมือนกับรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของตระกูลแลนเซอร์ เพิ่มช่องรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อระบายความร้อนในเครื่องยนต์
ขนาดตัวถัง 4,350 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,415 มิลลิเมตร
ฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร น้ำหนักตัว 1,360 กิโลกรัม เครื่องยนต์บล็อกเดิม
แต่เพิ่มแรงบิดสูงสุดเป็น 38.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที

รูปโฉมภายนอก พัฒนาจากรุ่น อีโวฯโฟร์
- ไฟหน้าแบบใส
- กันชนหน้า คล้ายๆ อีโวฯโฟร์ แต่กว้างกว่า
- แก้ม ซ้าย ขวา เป็นอลูมิเนียม
- ฝากระโปรงหน้าเป็นอลูมิเนียม
- สเกิร์ตข้างทรงใหม่
- มีโป่งคลุมล้อหลังด้วย
- กันชนหลังขนาดใหญ่กว่า อีโวฯโฟว์
ในรุ่นนี้ เครื่องยนต์ มี 280 แรงม้า
เบรค BREMBO เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
เทอร์โบ พัฒนาขึ้นดีกว่ารุ่นเก่า
ล้อแม็กซ์ O.Z. ขอบ17
ระบบ AYC
Intercooler ใหญ่กว่ารุ่นก่อน
แกนโช๊คอัพ หน้า ก็มีขนาดใหญ่ขึ้น
อุปกรณ์ภายในยังคงเหมือนรุ่น อีโวลูชั่น โฟว์
เปลี่ยนเบาะ Recaro รุ่นใหม่สีดำ ลายเคฟล่าห์
แผงประตูหุ้มหนังกลับสีดำ
ในรุ่น RS ก็เหมือนเดิม ตัดอุปกรณ์ออกหมด
ได้เกียร์โคลส มาแทน บวกกับเฟืองท้าย Limited ไม่มี AYC
รุ่นนี้มีให้เลือก 5 สี ครับ
ขาว เทา ดำ แดง เหลือง

EVOLUTION IV

EVOLUTION IV


 
30 กรกฎาคม 1996
จำกัดจำนวนผลิต 6,000 คัน
มีการเปลี่ยนแปลงตัวถังเป็นครั้งแรก มาใช้พื้นฐานเดียวกับแลนเซอร์ เอ็มจี
ตัวถัวยาว 4,330 มิลลิเมตร กว้าง 1,415 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร และน้ำหนักตัว 1,350 กิโลกรัม
เป็นรุ่นแรกที่ติดตั้งพวงมาลัย 3 ก้านทรงสปอร์ตพร้อมถุงลมนิรภัย
ขุมพลังยังยืนหยัดกับรหัส 4G63 แต่อัพเกรดสมรรถนะ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที
แรงบิดสูงสุด 36.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที
เป็นอีโวลูชั่นรุ่นแรกที่ย้ายตำแหน่งเครื่องยนต์มาติดตั้งเยื้องอยู่ฝั่งเดียวกับคนขับ
เชื่อมการทำงานกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะแบบ Shift – Short Stroke
และถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกในโลกที่ติดตั้งระบบควบคุมแรงบิดล้อหลัง AYC (Active Yaw Control)
ใกล้เฟืองท้ายเพื่อให้เข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน
พื้นฐานเดียวกับรุ่น CK บ้านเราครับ
รุ่นนี้ถือเป็นรุ่นแรกของเครื่องยนต์ 4G63 ใหม่(กลับหัว) ที่พัฒนามาจนถึงรุ่นปัจจุบัน
อุปกรณ์ติดรถมากมาย
- สปอยเลอร์หน้าพร้อมไฟสปอตไลท์PIAAในตัว
- ฝากระโปรงหน้าอลูมิเนียม
- แก้มหน้าโลหะ(ทรงไม่เหมือน CK นะ)
- ไฟข้างแก้มแบบแบน
- ไฟมุมส้ม
- สเกิร์ตข้างขนาดใหญ่
- สเกิร์ตหลัง
- สอปยเลอร์หลัง แบบ 2 ชั้น
- กระจกรอบคันสีฟ้า UV cut
ล้อแม็กซ์ O.Z. ขอบ 16
ดิสค์เบรค 4 ล้อ แบบ 5 รู 114 + ABS
ไล่ฝ้า และใบปัดหลังยังมีอยู่ แต่ไฟตัดหมอกหลังหายไปแล้ว
กระจกมองข้างไฟฟ้าพับได้
กุญแจรีโมท เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ส่วนของตัวถังมีสปอตจุดดามตัวถังเพิ่มเติมหลายจุด
รุ่นนี้ค้ำโช๊คหน้ามีมาให้จากโรงงาน แบบ 3 จุด
ภายในยังคงสีดำเป็นมาตรฐาน
ใช้เบาะRecaro SR- IV ผ้าสีส้ม รวมทั้งแผงประตู
พวงมาลัย MOMO แอร์แบ็ก คู่
แอร์ดิจิตอล เรือนไมล์สีขาว เลขส้ม
สีรถมี 5 สี ขาว เทา ดำ น้ำเงิน แดง
ส่วนรุ่น RS ก็ตัดอุปกรณ์ ที่ไม่จำเป็นออกหมด
สังเกตุพวงมาลัย ไม่มีแอร์แบ็ก คอนโซลสีดำแบบเรียบ ไม่มีเก๊ะบน
สปอตไลท์หายไปมีฝาครอบแทน ล้อแม็ก ไม่มีให้
เบาะภายในแบบธรรมดา แต่โทนดำ เฟืองท้ายไม่มีระบบ AYC

เครื่องยนต์ 4G63

เครื่องยนต์ 4G-63

เริ่มต้นมาดูกันที่ตัวเครื่องยนต์ธรรมดา แบบไม่มีเทอร์โบกันก่อน (NA) ฝาขาว
เครื่องยนต์ 4G63
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 10 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 140 / 6,000
แรงบิด (kg-m / rpm) 18 / 4,750
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376
เครื่องยนต์ที่อยู่ใน “ VR4 “ รุ่นแรกๆ ตัวนี้จะเป็นรุ่นที่มีเทอร์โบ (ฝาแดง CYCLONE)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (ซีซี) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 205 / 6,000 (TURBO TD 04)
แรงบิด (kg-m / rpm) 25.4 / 2,500
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376
ถัดมาเป็นเครื่องยนต์ (ปีใหม่ขึ้นมา) ที่ถูกปรับปรุงแล้ว จะอยู่ในตัว “ Eclipse “
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 220 / 6,000 (TURBO TD 05 H)
แรงบิด (kg-m / rpm) 30.5 / 2,500
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376
ส่วนนี้จะเป็นเครื่องยนต์ที่อยู่ในตัว Evolution ทั้ง 6 รุ่น
Evolution I (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1992)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 250 / 6,000 (TURBO TD 05 H-16 G-7)
แรงบิด (kg-m / rpm) 31.5 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376
Evolution II (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1994)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 260 / 6,000 (TURBO TD 05 H-16 G-7)
แรงบิด (kg-m / rpm) 31.5 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376
Evolution III (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1995)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 270 / 6,250 (TURBO TD 05 H-16 G 6-7)
แรงบิด (kg-m / rpm) 31.5 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376
Evolution IV (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1996)
ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ VR4, EVO I-III กับ เครื่องยนต์ EVO IV-ปัจจุบัน ก็คือเครื่องยนต์นั้นจะหันคนละด้านกัน คือ เครื่องยนต์ VR4, EVO I-III จะหันด้านขวา (ยืนมองจากด้านหน้ารถเข้าไป) ส่วนเครื่องยนต์ EVO IV-ปัจจุบัน จะหันด้านซ้าย (ยืนมองจากด้านหน้ารถเข้าไปเช่นกัน)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.8 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 280 / 6,500 (TURBO TD 05 HR-16 G 6-9 T)
แรงบิด (kg-m / rpm) 36 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.529 (GSR)
Evolution V (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1998)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.8 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 280 / 6,500 (TURBO TD 05 HR-16 G 6-10.5)
แรงบิด (kg-m / rpm) 38 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.529 (GSR)
Evolution VI (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1999)
เครื่องยนต์ 4G63
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.8 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 280 / 6,500 (TURBO TD 05 HR-16 G 6-10.5 T)
แรงบิด (kg-m / rpm) 38 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.529 (GSR)

ประวัติของ Evolution

ประวัติของ Evolution

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ความสำเร็จของมิตซูบิชิ มอเตอร์สเกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตและการแข่งขันแรลลี่โลก World Rally Championship (WRC) ซึ่งมักจะประสบกับชัยชนะเกือบทุกครั้ง จากความสำเร็จดังกล่าว จึงถูกนำพัฒนาและถ่ายทอดในรถยนต์ของนักขับรถ
ย้อนหลังไปต้นทศวรรษ ที่ 1970 ตัวแข่งแรลลี่โลกของมิตซูบิชิถูกพัฒนามาจาก โคลต์ กาแลนท์ 16L จากนั้นเข้าสู่ยุคของแลนเซอร์รุ่นแรก 1600 GSR ตามด้วยแลนเซอร์รุ่นกล่องไม้ขีด ที่ได้รับความนิยมจากนักแข่งและทีมแข่งต่างๆ ตลอดปี 1981 – 1982 รวมทั้งสปอร์ตคูเป้รุ่นสตาร์เรียน กระทั่งเข้าสู่ยุคของกาแลนท์ VR-4 ซึ่งถือเป็นยุคทองของมิตซูบิชิ จนเมืองไทยนิยมนำเข้ามาเพื่อแข่งขันแต่เมื่อมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ตันสินใจขยายตลาดโดยเน้นรถซีดานขนาดกลางอย่างจริงจัง ด้วยการเปิดตัวกาแลนท์ อัลติมาซึ่งมีขนาดตัวถังใหญ่เกินไปจึงไม่เหมาะกับการแข่งขัน ดังนั้นทีมมอเตอร์สปอร์ตจึงพัฒนาตัวแข่ง ใหม่ในนาม อีโวลูชั่น ในขณะเดียวกันสมาพันธ์ FIA กำหนดรถยนต์ที่เข้าแข่งขันกรุ๊ป A ต้องผลิตออกขายอย่างน้อย 2,500 คัน/ปี มิตซูบิชิจึงต้องผลิตอีโวชั่นทำตลาดจริงให้ถึงจำนวนที่กำหนดดังกล่าว นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะแลนเซอร์ อีโวลูชั่นสามารถกวาดชัยชนะจากสนามแข่ง WRC นับไม่ถ้วน ทั้งยังคว้าแชมป์แรลลี่โลกสะสมเก็บคะแนนในปี 1998 มาครองได้สำเร็จ